วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

มด ตอน3




ส่วนกลาง
ส่วนกลางเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง ส่วนท้อง และส่วนหัว โดยมากจะเป็นทรงกระบอก อาจมีตุ่มหนามอยู่ด้วย เป็นส่วนที่สองของลำตัวมดเป็นรูปทรงกระบอก อกของมดจะไม่ใช้คำว่า thorax แต่จะใช้ alitrunk แทน เนื่องจากอกของมดประกอบด้วย อกปล้องแรก อกปล้องที่ 2 และอกปล้องที่ 3 แต่อกปล้องที่ 3 นี้จะรวมกับท้องปล้องที่ 1 ซึ่งเรียกว่า propodeum ส่วนอกจะเป็นที่ตั้งของส่วนขาและปีก (สำหรับราชินีและมดเพศผู้) มดงานจะมีส่วนอกปกติ ยกเว้นมดราชินีมีอกขนาดใหญ่กวา ปีกจะพบที่มดเพศผู้และมดเพศเมียเท่านั้น มดบางชนิดอกปล้องที่ 1 อกปล้องที่ 2 เชื่อมติดกันเชื่อมติดกัน เช่นเดียวกับอกปล้องที่ 3 กับปล้องที่ 1 มดบางชนิดสันหลังอกมีหนามหรือตุ่มหนาม บางชนิดอาจเป็นแผ่นคล้ายโล่ห์ ขาของมดส่วนมากค่อนข้างยาว ทำให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วว่องไวมาก ความยาวของขาและรูปร่างของมดนั้นจะถูกกำหนดโดยพฤติกรรมต่างๆ
ส่วนท้อง
เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของมด บางชนิดจะแตกออกเป็น 2 ส่วน เรียกว่า Wasted twin ซึ่งมดบางชนิดอาจมีเหล็กใน และบางชนิดก็มีช่องไว้ปล่อยสารป้องกันตัว เป็นส่วนที่ 3 มดมี 1 หรือ 2ปล้องขึ้นอยู่กับกลุ่มมด อาจมี 1ปล้องคือ Petioleเป็นปล้องที่ 2 ของส่วนท้องอาจเป็นปุ่ม หรือแผ่น ส่วนถ้ามี 2 ปล้องคือ Petiole และ Postpetiole เป็นปล้องที่ 2กับปล้องที่ 3 Postpetiole อาจเป็นปุ่มหรือรูปทรงกระบอกก็ได้ มดบางชนิด petiole มีหนาม 1 คู่ ส่วนท้ายของลำตัว เรียก gaster โดยทั่วไปมีรูปร่างกลม แต่บางชนิดเป็นรูปหัวใจ หรือรูปทรงกระบอก ปลายส่วนท้องของมดงานส่วนใหญ่มีเหล็กไน บางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ สำหรับบางชนิดไม่มีเหล็กไน ก็จะเปิดเป็นช่อง สำหรับขับสาร


วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

มด ตอน2

โครงสร้างของมดนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนท้อง
ส่วนหัวของมด มีหลายรูปร่าง เช่น รูปร่างห้าเหลี่ยม รูปร่างมังกร หรือวงรี ซึ่งมีส่วนที่สำคัญอีกคือ
หนวดของมดนั้นแตกต่างจากแมลงกลุ่มอื่น คือ หนวดของมดจะม้วนเข้าศอก เว้นแต่มดสายพันธุ์ Fomisintos ที่จะมีลักษณะการม้วนหนวดเหมือนแมลงชนิดอื่นๆ หนวดมด มีหน้าที่รับรู้สื่อสารและรายงานสถาณภาพต่างๆของบริเวณนั้นๆ ในการสื่อสารมดจะใช้หนวดมาสัมพัมผัสกันเป็นการสื่อสารแบบ ลอย (Emando) หนวดของมดจะแบ่งออกเป็นปล้องๆ ซึ่งแล้วแต่ประเภท วรรณะของมด ซึ่งแบ่งออกดังนี้
มดราชินี (Queen Ant) มีหนวดประมาณ 210-254 ปล้อง
มดเพศผู้ (Male Ant) มีหนวดประมาณ 117-163 ปล้อง
มดเพศเมีย (Female Ant) มีหนวดประมาณ 131-155 ปล้อง
มดงาน (Worker Ant) มีหนวดประมาน 83 -117 ปล้อง
ตา
แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ตารวมและ ตาเดี่ยว
ตารวม คือ ตาที่มีอยู่เป็นคู่ อาจมีลักษะอื่นๆด้วย เช่น ตาเป็นมี ตา 2คู่ และไม่จำเป็นต้องอยู่บริเวณข้างหน้าเสมอไป มดส่วนใหญ่จะมีตาเป็นประเภทตารวม
ตาเดี่ยว คือ ตาที่ไม่ใช่คู่ ส่วนใหญ่ จะมีสามตา และอยู่บริเวณล่างของหนวด
มดส่วนใหญ่จะมีตารวม บางชนิดไม่มีตารวมตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้า หรือด้านข้างของส่วนหัว มีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็ก ๆ จนถึงขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นรูปวงกลม มีบ้างที่เป็นรูปวงรีหรือรูปไต มีหน้าที่สำหรับการมองเห็น ส่วนตาเดี่ยวโดยทั่วไปมี 3 ตา อยู่เหนือระหว่างตารวม ส่วนมากพบในเพศผู้และราชินี สำหรับมดงาน พบมากในมดเขตหนาว ไม่ได้ใช้ในการมองเห็น
ปาก
ปากของมดจะมีอยู่สองลักษณะ คือ แบบกัดกิน (Thorix) และปากแบบลักษะดูด (Thorase)
ปากแบบกัดกิน จะมีลักษณะเป็นฟันสองซี่ จะคมมาก มีกรามที่แข็งแรงและขนาดใหญ่ เป็นส่วนที่เห็นชัดที่สุดรูปสามเหลี่ยม กึ่งสามเหลี่ยมหรือเป็นแนวตรงถือเป็นอวัยวะที่สำคัญในการจับเหยื่อและ ป้องกันตัว ทำให้มดส่วนใหญ่เป็นพวกกินสัตว์ พบได้ในมดงาน
ปากแบบลักษณะดูด จะมีไวสำหรับ ดูน้ำหวาน ตามเกสร พบในมดเพศเมีย และมดราชินี
ร่องพักหนวด เป็นร่วมหรือแอ่งยาวคล้ายรอยพิมพ์ อยู่บริเวณหน้าของส่วนหัว เป็นที่เก็บหนวดขณะที่ไม่ใด้ใช้ โดยทั่วไปมี 1 คู่ มีลักษณะแตกต่างกันตั้งแต่เป็นร่องตื้น ๆ ไปถึงร่องลึกเห็นชัดเจน บางชนิดไม่มีร่องพักหนวดนี้


วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

มด


มด เป็นสัตว์ที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ มดเป็นสัตว์ที่สามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษะเฉพาะ


วรรณะมด
มดราชินี เป็นมดเพศเมียที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ก่อนที่จะเป็นมดราชินี จะเป็นมดเพศเมีย ธรรมดาก่อน เป็นมดมีปีก เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะสลัดปีกทิ้งไป แล้วเริ่มสร้างรังวางไข่ มดราชินีจะเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมดทั้งรัง ตั้งแต่กำหนดเพศ จำนวนประชากร และพฤติกรรมต่างๆ เปรียบเหมือนเป็นศูนย์รวมของมดทุกชีวิตเลยก็ว่าได้ หากมดราชินีถูกฆ่าตาย มดตัวอื่นๆ จะขาดที่พึ่งและแตกกระจายกันไปไม่มีจุดหมาย อยู่เพื่อรอวันตายซึ่งอาจจะตายเองหรือถูกสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร โดยทั่วไปมดรังหนึ่งจะมีมดราชินีเพียงตัวเดียวเท่านั้น
มดเพศผู้ เป็นมดตัวผู้ มีปีกมีขนาดใกล้เคียงกับมดงาน มีหน้าที่เพียงแค่ผสมพันธุ์อย่างเดียว ในรังหนึ่งมีมดเพศผู้อยู่ไม่มาก และจะเกิดเพียงรุ่นเดียวเท่านั้นในรอบปี
มดงาน เป็นมดตัวเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก มีหน้าที่คอยหาอาหารป้องกันศัตรู ดูแลรังไข่และตัวอ่อนรวมทั้งมดราชินี มดที่เราเห็นส่วนใหญ่ล้วนเป็นมดงานทั้งสิ้น มดรังหนึ่งจะมีมดงานจำนวนมากเพราะเกิดได้หลายรุ่นในรอบปี มดบางชนิดยังอาจแบ่งมดงานเป็น “มดทหาร” ซึ่งมีขนาดลำตัวใหญ่ แต่เล็กกว่ามดราชินี อาจพบได้ภายในรังและบริเวณใกล้รังเพื่อป้องกันศัตรูต่างๆ อีกประเภทหนึ่งคือ “มดกรรมกร” มีขนาดเล็กกว่ามดทหาร พบได้ในบริเวณที่ห่างรังออกไปเนื่องจากต้องไปหาอาหารตามที่ต่างๆ

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

แมลง ตอน6


แมลงจัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่มีจำนวนชนิด มากที่สุด
เมื่อกล่าวถึงแมลง เรามักนึกถึงสัตว์ 6 ขา มีปีก หน้าตาน่าเกลียด น่าขยักแขยง ทำให้เกิดความรำคาญ และเป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่จากการศึกษาพบว่า จากจำนวนชนิด ของแมลงทั้งหมดในโลกนี้ กลุ่มแมลงศัตรู นี้มีอยู่เพียงประมาณไม่เกิน 10% ในขณะที่กลุ่มแมลงที่เหลือซึ่งมีมากกว่า 90% จัดอยู่ในกลุ่มแมลงที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ไม่มากก็น้อย เช่น
1. ช่วยผสมเกสร เช่น ผึ้ง ผีเสื้อ ต่อ แตน แมลงภู่
2. สร้างผลผลิต เพื่อใช้ในการบริโภค เช่น รังผึ้ง น้ำผึ้ง ไหม ครั่ง
3. ช่วยปราบแมลงศัตรูต่างๆ เช่น ต่อเบียน แตนเบียน และแมลงวันก้นขน ทำลายไข่และตัวอ่อนของผีเสื้อ, ด้วงเต่าลาย ตั๊กแตนตำข้าว และแมลงปอ กินแมลงพวกเพลี้ยเป็นอาหาร
4. ใช้เป็นอาหารของคนและสัตว์ เช่น มดแดง ด้วง หนอนแมลงต่างๆ
5. ใช้เพื่อการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ เช่น พันธุศาสตร์ พิษวิทยา นิเวศวิทยา เช่น แมลงหวี่ หนอนผีเสื้อ
6. ช่วยจรรโลงจิตใจมนุษย์ให้รักธรรมชาติ เช่น เสียงร้องของจั๊กจั่น แมลงขณะบิน และสีสันที่สวยงามของผีเสื้อชนิดต่างๆ
7. เป็นดัชนีแสดงความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณที่แมลงอาศัยอยู่นั้น เช่น ถ้ามีความหลากหลายของชนิดแมลง มาก หมายถึงบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์มาก ทั้งด้านปริมาณอาหารที่มีหลากหลายชนิด และสภาพทางนิเวศวิทยาที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ
8. ช่วยในการบำรุงดินเพื่อใช้ในทางเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมลงขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งแมลงเหล่านี้ช่วยย่อยสลายซากสิ่งปฏิกูลในดิน ทำให้ดินร่วนซุย และมีสารอาหารต่างๆสมบูรณ์
สำหรับแมลงที่มีโทษต่อมนุษย์ พืชและสัตว์ ไม่ว่า ยุง แมลงวัน แมลงสาบ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคต่างๆมาสู่คนและสัตว์ ปลวกทำลายไม้ในอาคารบ้านเรือน และต้นไม้ หนอนผีเสื้อชนิดต่างๆ ทำลายพืชพรรณธัญญาหารของมนุษย์ เราจะพบว่าในบางช่วงของชีวิตของมันอาจเป็นประโยชน์ได้เช่นกัน คือ
ลูกน้ำยุง ปลวก เป็นอาหารของปลา
หนอนผีเสื้อ เป็นอาหารของนก คน และสัตว์อื่นๆ
หนอนแมลงวัน ช่วยย่อยเศษปฏิกูลให้เป็นอาหารของพืช
แมลงสาบ ใช้เป็นสัตว์ทดลองทางชีววิทยา
ผีเสื้อ ช่วยในการผสมเกสรดอกไม้

แมลง ตอน5


เรื่องน่ารู้ของแมลง
ด้วงหนวดยาว มีระยะไข่ที่ยาวนานที่สุดคือ9เดือนครึ่ง
นางพญาปลวกวางไข่ได้มากที่สุด จำนวน 40,000ฟอง/วัน
ตัวอ่อนของแมลงวันอีฟายริด อาศัยในน้ำพุร้อน ซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 60 องศาเซลเซียส
หมัดหิมะยังคงอยู่ในสภาพปกติ ที่อุณหภูมิ -15 องศาเซลเซียส
ตัวอ่อนของริ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่รอดโดยปราศจากน้ำเป็นปี และอยู่ได้ 3 วันในไนโตรเจนเหลว -196 องศาเซลเซียส
ผีเสื้อพระจันทร์อินเดีย สามารถรับกลิ่นฟีโรโมนของคู่ผสมพันธุ์จากระยะทางไกล มากกว่า 11 กิโลเมตร
วงชีวิตยาวนานที่สุดของจั๊กจั่นบางชนิด 17 ปี
ตัวอ่อนของด้วงเจาะไม้ มีอายุยาวนาน 45 ปี
แมลงวันมีวงชีวิตสั้นที่สุดครบสมบูรณ์ในวลา 17 วันแล้วก็ตาย
ตั๊กแตนกิ่งไม้ยักษ์มีขายาวที่สุด 51 เซนติเมตร
ด้วงหนวดยาวนิวกินีมีหนวดยาวถึง 20 เซนติเมตรนับว่ายาวที่สุดในบรรดาแมลง
ตั๊กแตนทะเลทรายกระโดดได้ไกลถึง 50 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะ 10 เท่าของความยาวลำตัว
รังปลวกทะเลทรายอยู่ลึกจากพื้นดิน 40 เมตร นับเป็นรังที่ลึกที่สุด
รังปลวกออสเตรเลียใหญ่ที่สุด สูง 7 เมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 31 เมตร
รังปลวกแอฟริกันสูง 12.8 เมตร เป็นรังที่สูงที่สุด
พลเมืองประมาณ 40,000 คน เสียชีวิตจากสาเหตุของการถูกต่อและผึ้งต่อย
แมลงวันบ้านนำเชื้อโรคและปรสิตต่างๆ มากกว่า 30 ขนิด
ฝูงตั๊กแตนสามารถกินพืชผลถึง 20,000 ตัน/วัน
ในศตวรรษที่ 14 หมัดหนูเป็นพาหะนำโรคกาฬโรค ซึ่งทำให้คนตายถึง 20ล้าน คน
แมลงปอยักษ์ก่อนยุคประวัติศาสตร์ บินได้อย่างต่ำ 69 กิโลเมตร
ผีเสื้อเหยี่ยวเป็นแมลงที่บินได้เร็วที่สุด ความเร็ว 53.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ผีเสื้อหางดิ่งกระพือปีกได้ช้าที่สุด 300ครั้ง/นาที
ริ้น กระพือปีกได้เร็ว 62,760 ครั้ง/นาที
พีเสื้อเพ้นท์เลดี้อพยพย้ายถิ่นฐานได้ไกล 6,436 กิโลเมตร จากอเมริกาเหนือถึงไอซ์แลนด์
แมลงหางดีดมีจำนวนมากที่สุด ประมาณ 50,000 ตัว ต่อพื้นที่ทุ่งหญ้า 1 ตารางเมตร
ต่อมายมาริดเป็นแมลงที่ตัวเล็กที่สุด ยาว 0.17 มิลลิเมตร
ด้วงไกโลแอธเป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ยาว 110 มิลลิเมตร หนัก 100 กรัม
ผีเสื้อกลางคืน เฮอร์คิวลิสออสเตรเลีย มีปีกกว้าง 28 เซนติเมตร ซึ่งเป็นปีกที่ยาวมาก
จักจั่นเป็นแมลงที่ส่งเสียงได้ดังมากที่สุด มนุษย์สามารถได้ยินเสียงของมันในระยะห่าง 400 เมตร
มากกว่าครึ่งหนึ่งของการตายของพลเมือง หลังจากยุคหินเป็นสาเหตุมาจากมาลาเรีย ซึ่ง “ยุง” เป็นพาหะนำโรค ทำให้คนเสียชีวิตมากที่สุด

แมลง ตอน4

แมลงอนุรักษ์
ความสามารถในการปรับตัวได้ดี สามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้ดีของสิ่งมีชีวิตทำให้สิ่งมีชีวิตในกลุ่มของแมลงมีความหลากหลาย จำนวนชนิดมากกว่าในอันดับอื่นๆ และมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ความหลากหลายนั้นก็ทำให้แมลงบางชนิดสูญพันธุ์ หรือใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะหลายสาเหตุด้วยกัน จากความจำเพาะเจาะจงของพืชอาหารของแมลงชนิดนั้นลดน้อยหรือไม่มีในสภาพธรรมชาติ เนื่องจากความเสื่อมโทรมของป่าไม้ เช่น ผีเสื้อถุงทองที่มีพืชอาหารในระยะหนอนจากการกินกระเช้าสีดา อีกทั้งยังมีการลักลอบจับเป็นการค้า โดยเฉพาะแมลงที่มีความสวยงาม ได้แก่ กลุ่มผีเสื้อ และ กลุ่มด้วง
ชนิดแมลงอนุรักษ์ในประเทศไทย
แมลงที่มีการจับเพื่อการค้าสูง ซึ่งมีลักษณะสวยงาม ได้แก่ แมลงกลุ่มผีเสื้อ และแมลงกลุ่มด้วง ซึ่งผีเสื้อมีสีสรรสวยงาม ส่วนด้วงมีเขาสวยงาม
แมลงที่หายาก ซึ่งดูจากพิพิธภัณฑ์แมลง ของกรมวิชาการเกษตร ที่เคยพบเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ต่อมาปัจจุบันไม่พบอีกเลย หรือพบน้อยมาก อันเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ นี้มีแมลงที่พบในประเทศไทยด้วย จำนวน 3 รายการ คือ ผีเสื้อถุงทอง ผีเสื้อไกเซอร์ และผีเสื้อภูฐาน
รายชื่อแมลงอนุรักษ์ในประเทศไทย
แมลงกลุ่มผีเสื้อ
ผีเสื้อถุงทอง
ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก
ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายหยัก
ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายตรง
ผีเสื้อกลางคืนหางยาว
ในประเทศไทยพบผีเสื้อกลางคืนชนิดนี้ 4 ชนิด คือ
ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายตรง,ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก,ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายตรงและผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายหยัก
ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายตรง
ผีเสื้อภูฐานหรือผีเสื้อเชียงดาว
ผีเสื้อรักแร้ขาว
ผีเสื้อกลางคืนค้างคาว
ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว
ผีเสื้อไกเซอร์
ผีเสื้อนางพญา เป็นผีเสื้อกลางวัน ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ
ผีเสื้อนางพญาพม่า พบได้ที่ภาคเหนือของประเทศไทย
ผีเสื้อนางพญาเขมร พบได้ที่ภาคตะวันออกของประเทศ
และผีเสื้อนางพญากอดเฟรย์ พบได้ที่ภาคใต้ของประเทศไทย
ผีเสื้อถุงทอง ในประเทศไทยที่พบแล้วมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ผีเสื้อถุงทองป่าสูง, ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้
ผีเสื้อถุงทองธรรมดา ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้


แมลง ตอน3


ปีก
ปีกของแมลงมีลักษณะเป็นแผ่นแบน เกิดจากส่วนของผนังลำตัวทางด้านบนและด้านข้าง เกิดการขยายตัวออกมาทางด้านข้างประกบกันเป็นแผ่นปีกบริเวณไหนประกบกันสนิทจะเกิดเนื้อปีก บริเวณไหนประกบกันไม่สนิทจะเกิดเป็นเส้นปีกซึ่งช่องว่างจะมีส่วนของเส้นประสาท ท่อลมและโลหิต
โครงสร้างของปีกมี4อย่างคือ
เส้นปีก
รอยโค้งบนปีก
ขอบปีกแมลง
มุมปีกแมลง
พื้นที่ต่างๆบนปีก
เนื้อปีกของแมลง 4 แบบ

อีไลทร้า เนื้อปีกจะแข็งและหนามาก
เทจมิน่า เนื้อปีกคล้ายคลึงกับหนังฟอก
เฮมีไลท้รา เนื้อปีกตรงฐานจะแข็ง ส่วนปลายปีกจะอ่อน
เมมเบรน เนื้อปีกจะมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อบางๆ

พฤติกรรมของแมลงจะชอบเข้าหาแสงสว่างในฤดูร้อนแมลงหลายชนิดมีอวัยวะรับรู้สัมผัสที่ดีมาก บางครั้งอาจมีประสิทธิภาพมากกว่าประสาทสัมผัสของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ผึ้งสามารถเห็นแสงสีในสเปกตรัมของรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต และผีเสื้อกลางคืนตัวผู้มีระบบประสาทรับกลิ่นที่สามารถรับกลิ่นของฟีโรโมนจากตัวเมียได้เป็นระยะทางหลายกิโลเมตร แมลงสังคมอย่างมดและผึ้ง เป็นตัวอย่างที่พบเห็นได้ง่ายที่สุดของสัตว์สังคม พวกมันอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่โดยแบ่งหน้าที่การงานกันอย่างเป็นระบบและเรียบร้อย บางครั้งอาณาจักรเช่นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น แมลงวรรณะ

แมลง ตอน2




ตาของแมลง
ตารวม พบอยู่ 1 คู่ที่บริเวณด้านบนเยื้องไปทางด้านข้างของกะโหลกศีรษะแมลงบริเวณด้านข้างประกอบด้วยเลนส์เล็กๆหลายพันอันประกอบรวมกัน ตาย่อยแต่ละอันมีเลนส์รับภาพ ได้ภาพรวมที่เห็นจะเป็นแบบภาพเรียงกันหลายภาพ ภาพไม่ชัดเจน แต่สามารถจับความเคลื่อนไหวของภาพได้ดี ทำหน้าที่ในการมองสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะการรับรู้ภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวได้เร็วทำให้สามารถล่าเหยื่อ หลบหลีกศัตรูได้ดี
ตาเดี่ยว มักพบจำนวน 1-3 ตาแล้วแต่ชนิดต่างกันไปในแมลงแต่ละชนิด และปรากฏอยู่ในแมลงทั้งในระยะตัวหนอน ตัวอ่อน และ ตัวเต็มวัย แมลงส่วนใหญ่มักจะมีตาเดี่ยว 3 ตาเรียงกัน เป็น รูปสามเหลี่ยมบนศีรษะ ระหว่างตารวมทั้ง 2 ข้าง แมลงบางชนิดอาจไม่มีตาเดี่ยวเลย ตาเดี่ยวเป็นตาขนาดเล็ก ใช้ในการรับรู้แสงสว่าง รับรู้กลางวันและกลางคืน


ระบบประสาท
ระบบนี้ตั้งอยู่ที่ด้านท้องของแมลง มีส่วนประกอบคือสมอง และปมประสาท ส่วนหัวมีปมประสาท 6 คู่ โดย 3 คู่รวมกันเป็นสมอง อีก 3 คู่รวมกันเป็นปมประสาทใต้สมอง ส่วนอกมีปมประสาท 3 ปม 1 ปม ต่อ 1 ปล้องอก ส่วนท้องมีปมประสาท 8 ปมเล็ก 1 ปม ต่อ 1 ปล้องท้องที่ 1-8 และปมใหญ่ 1 ปม แมลงหลายชนิด มีการรวมตัว และลดรูปของปมประสาท เช่น แมลงสาบบางชนิด มีปมประสาทที่ท้องเพียง 6 ปมเล็ก กับ 1 ปล้องใหญ่ ต่อมีปมประสาทที่อก 2 ปม ปมประสาทที่ท้อง 3 ปมเล็ก กับ 1 ปมใหญ่ และแมลงวันบ้าน ปมประสาทที่อก และปมประสาทเล็กที่ท้องรวมกันเป็น 1 ปม เท่านั้น เป็นต้น โครงสร้างแข็งภายนอก แมลงส่วนมากมีปีก 2 คู่ตั้งอยู่ที่อกล้องที่ 2 และ 3 อย่างละ 1 คู่ และเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดเดียวที่ได้พัฒนาให้บินได้ จึงทำให้พวกมันอยู่รอดได้ดี กระบวนการบินของแมลงยังไม่แน่ชัด เชื่อว่าใช้ระบบการเคลื่อนที่ของอากาศ กลุ่มแมลงโบราณใช้กล้ามเนื้อบังคับโครงสร้างปีกโดยตรง ส่วนกลุ่มแมลงที่พัฒนาปีกจะพับได้ และใช้กล้ามเนื้อบังคับผนังส่วนอก บังคับโครงสร้างปีกทางอ้อม


แมลง


แมลง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แมลงเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดและมีการแพร่กระจายกว้างขวางที่สุดใน และเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายมากที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด โดยมีมากกว่า 800,000 สปีชี่ส์ ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆรวมกัน แมลงพบได้ในเกือบทุกสภาพแวดล้อมในโลก แม้แต่ในทะเลยังพบแมลงบางชนิดได้ ประมาณไว้ว่า มี แมลงปอ 5,000 ชนิด ตั๊กแตนตำข้าว 2,000 ชนิด ตั๊กแตน 20,000 ชนิด ผีเสื้อ 170,000 ชนิด แมลงวัน 120,000 ชนิด มวน 8,200 ชนิด ด้วง 36,000 ชนิด ผึ้ง ต่อ แตน และมด 110,000 ชนิด ที่จำแนกชื่อแล้ว และเมื่อรวมกับชนิดที่ยังไม่ได้จำแนกชื่อประมาณว่าน่าจะมี 20 ล้าน ถึง 50 ล้านชนิด

แมลงตัวเต็มวัยในปัจจุบันมีขนาดตั้งแต่ 0.139 มม. คือ เตียนเบียน ถึงขนาด 55.5 ซม.คือ ตั๊กแตนกิ่งไม้ส่วนแมลงที่หนักที่สุดที่มีการตีพิมพ์ คือ จิ้งโกร่งถ้ำ หนัก 70 กรัม ส่วนแมลงที่หนักใกล้เคียงคือ ด้วงโกลิแอท และ ด้วงหนวดยาวโดยยังไม่มีใครรู้แน่นอนว่าแมลง 3 ชนิดนี้ตัวใดหนักที่สุด

แมลงมีกระดูกภายนอก ส่วนแข็งที่ปกคลุมตัวสร้างจากไคติน เมื่อเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ส่วนหัวเป็นที่ตั้งของ หนวด 1 คู่ ตารวม 1 คู่ และส่วนปาก ส่วนอก 3 ปล้อง เป็นที่ตั้งของ มีขา 6 ขา 1 คู่ต่ออก 1 ปล้อง ปีก 1 หรือ 2 คู่ หรืออาจไม่มีก็ได้ ถ้ามีปีกจะอยู่ที่อกปล้องที่ 2 และ 3 อย่างละ1คู่ ส่วนท้อง 11 ปล้อง บางชนิดมี 6 -10 ปล้องเท่านั้น เป็นที่ตั้งของรูหายใจ อวัยวะสืบพันธุ์ และขับถ่าย
หนวด
โดยทั่วไปแมลงมีหนวด 1 คู่ติดอยู่อยู่บริเวณส่วนหัวของแมลงทำหน้าที่รับสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้งการสั่นสะเทือนและสารเคมี ซึ่งสัณฐานหนวดมีลักษณะต่างกันแล้วแต่ชนิดของแมลง
โครงสร้างของหนวดแมลง ฐานหนวด เป็นปล้องแรกที่ยึดติดกับส่วนหัว โดยเชื่อมต่อเป็นจุดเดียวสามารถเคลื่อนไหวได้รอบทิศทาง ข้อต่อหนวด อยู่ถัดจากฐานหนวดมีขนาดเล็ก เส้นหนวด ปล้องหนวดแต่ละปล้องเรียงต่อกันเป็นเส้นหนวด
หนวดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มโดยพิจารณาจากกล้ามเนื้อ รูปร่างของหนวดมีอยู่ด้วยกัน 13 แบบ
1.หนวดแบบเส้นด้าย
2.หนวดแบบเส้นขน
3.หนวดแบบกระบอง
4.หนวดแบบลูกตุ้ม
5.หนวดแบบฟันเลื่อย
6.หนวดแบบลูกปัด
7.หนวดแบบใบไม้
8.หนวดแบบใบไผ่
9.หนวดแบบพู่ขนนก
10.หนวดแบบฟันหวี
11.หนวดแบบเส้นขนอาริสต้า
12.หนวดแบบเคียว
13.หนวดแบบหักข้อศอก